กลัวลูกติดจอ? การกำหนดเวลาการใช้หน้าจอ พอสำหรับพวกเขาไหม?

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เด็ก ๆ ใช้เวลาอยู่กับการเล่นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือแล็ปท็อปมากขึ้น ซึ่งแปลว่าเด็กรุ่นนี้เป็นเด็กที่จะโตมาพร้อมกับการใช้ชีวิตอยู่กับอุปกรณ์ที่มีอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา

สำหรับพ่อแม่ที่กังวลเรื่องเวลาในการใช้หน้าจอของลูก มีคำแนะนำจากการวิจัยว่าพ่อแม่ควรเลือกเฉพาะเนื้อหาการเรียนรู้ที่มีคุณภาพสูง โดยเน้นไปที่พัฒนาการของลูก ด้วยการดูและเล่นไปพร้อมกับลูก และจากการทำแบบนี้ พ่อแม่สามารถวางแนวทางที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกทางสื่อดิจิทัล และช่วยกระตุ้นการฝึกจำ ฝึกภาษา และ การพัฒนาทางอารมณ์ และทางสังคมอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แทนที่จะกังวลเรื่องผลกระทบของการควบคุมเวลาหน้าจอ การวิจัยของนักจิตวิทยา แนะนำให้พ่อแม่สอนลูกว่าใช้สื่อเหล่านั้นอย่างไรให้ถูกต้อง มากกว่าสนใจเวลาหรือความถี่ในการใช้  ซึ่งแทนที่จะคิดว่าการใช้หน้าจอเป็นการทำร้ายลูก พ่อแม่ควรตั้งเป้าไปที่การทำให้ลูกโตขึ้นอย่างมีคุณภาพตามสังคมยุคดิจิทัล พ่อแม่ควรวางแบบแผนที่จะช่วยให้ลูกเข้าใจถึงศีลธรรมและแยกแยะสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อให้ลูกได้ใช้ชีวิตที่เหมาะสมในยุคนี้

ในฐานะผู้ปกครอง คุณควรระวังเรื่องของการใช้หน้าจอของลูกในทางนิสัย และสุขภาพจิตที่ดีของลูก คุณต้องสังเกตผลลัพธ์ในเรื่องการกำหนดเวลาหน้าจอ และการโต้ตอบเวลาที่เราจะเก็บอุปกรณ์ที่ลูกเล่นคืนเมื่อหมดเวลา คุณสังเกตปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกในตอนที่คุณปฏิเสธการขอดูหน้าจอหรือไม่ ลูกของคุณมีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือไม่ ถ้ามี ก็ถึงเวลาที่คุณจะกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องเวลาการใช้หน้าจอของลูกได้แล้ว เพราะตอนที่ลูกเป็นเด็กเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะเรียนรู้เรื่องการจัดการตัวเองกับการใช้หน้าจอมากที่สุด

ถ้าอยากเริ่มควบคุมการใช้หน้าจอของลูก เราขอแนะนำวิธีดังนี้

  1. กำหนดเวลาสำหรับการใช้หน้าจอ และต้องแน่ใจว่าทุกคนในครอบครัวต้องให้ความร่วมมือกับข้อตกลงด้วย เช่น การไม่ใช้หน้าจอตอนกินข้าว ไม่ใช้สมาร์ทโฟนตอนขับรถ หรือการไม่ใช้หน้าจอก่อนเวลานอนหนึ่งชั่วโมง เป็นต้น
  2. การกำหนดเวลาหน้าจอนั้น ผู้วิจัยแนะนำว่าควรให้คนในครอบครัวสามารถต่อรองเรื่องเวลาการใช้หน้าจอกันได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะใช้หน้าจอของลูก แทนที่จะห้ามใช้หรือควบคุมเวลาการใช้อย่างตายตัว ควรปล่อยให้ลูกเป็นคนตัดสินใจเอง ซึ่งการต่อรองนี้อาจจะอยู่ในช่วงเวลาว่างของลูก การทำแบบนี้ ส่งผลถึงการพัฒนาเรื่องความมั่นใจในตัวเอง การแบ่งเวลา หรือการรับรู้และตอบสนองความต้องการของตัวเอง และยังเป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกได้อีกด้ว
  3. สามารถเพิ่มเวลาที่ลูกใช้หน้าจอได้หากพวกเขาใช้งานเกี่ยวกับการเรียนรู้ หรือการศึกษา การที่ลูกชอบดูหน้าจอในเนื้อหาที่ดี แปลว่าเนื้อหาเหล่านั้นส่งผลให้การเรียนของลูกสนุก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นเมื่อเราเรียนแบบแอคทีฟ ได้มีส่วนร่วมกับการเรียน และการเรียนนั้นมีความหมายกับเรา ไม่ว่าจะเป็นช่วงอายุไหนก็ตาม ซึ่งเด็ก ๆ จะเรียนภาษาได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อได้เรียนกับสื่อดิจิทัล ซึ่งมีเนื้อหาที่ดีมากมายอยู่ในโลกออนไลน์เต็มไปหมดที่จะทำให้เด็กได้มีส่วนร่วม และการเรียนรู้แบบนี้ย่อมดีกว่าการเรียนรู้แบบนั่งดูเฉย ๆ แน่นอน

เมื่อพูดถึงการที่เด็กต้องเรียนเกี่ยวกับตัวหนังสือหรือตัวเลข และต้องพัฒนาในเรื่องการจำเสียงและตัวหนังสือ แท็บเล็ต หรือมือถือก็เป็นเครื่องมือดี ๆ ที่เรามีอยู่ใกล้ตัว และตัวอย่างของแอปพลิเคชันที่ใช้ในการเรียนภาษาจีนสำหรับเด็กคือกาแลคซี่ คิดส์(Galaxy Kids) แอปนี้ออกแบบมาให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมในการเรียน และทำให้เด็ก ๆ มีความมั่นใจในการพูดภาษาจีนมากขึ้น

แอปพลิเคชันนี้คือแบบอย่างของคลาสเรียนที่มีเพื่อน ซึ่งเป็นตัวละครในจินตนาการที่เรียนด้วยกันอย่างสนุกสนาน และได้เรียนรู้ตามหลักสูตรนานาชาติที่ออกแบบโดยครูสอนภาษาจีน ซึ่งจะทำให้ลูกของคุณได้ฝึกภาษาจีนได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยเนื้อหาที่เด็ก ๆ จะได้เรียนในแอปพลิเคชันนี้นั้น มีทั้งการฝึกพูดโต้ตอบกับ AI Chat Buddies ที่เป็นเหมือนเพื่อนคุยของเด็ก ๆ และยังมีเพลงเด็กให้ได้ฝึกร้องตาม เป็นการได้ฝึกความจำไปพร้อม ๆ กับการฝึกภาษาอีกด้วย

 


Galaxy Kids เรามุ่งมั่นว่าเราจะช่วยให้ลูกของคุณ ได้ฝึกพูดภาษาจีนกับเจ้าของภาษาผ่านทางแอปพลิเคชั่นเรียนภาษาที่ดีที่สุด และเตรียมพบกับคลาสเรียนสด (Live Class) กับเราได้ที่นี่

ใช้ง่าย สะดวกได้ทุกที่ทุกเวลา ด้วยสื่อการสอนล้ำสมัย ผ่านเทคโนโลยี AI นำมาใช้ฝึกบทสนทนาในชีวิตประจำวัน แถมยังได้สนุกไปกับตัวการ์ตูนแอนิเมชั่น เมื่อลองฝึกพูดคุยกับ Galaxy Kids App อย่างต่อเนื่อง จะสามารถพัฒนาการพูดภาษาจีนได้ใน 90 วัน

เริ่มทดลองเรียนได้ทันที ฟรี! เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น คลิก Apple Store และ Google Play

Related Posts

เริ่มต้นสอนภาษาจีนลูก

4 วิธีเริ่มต้นสอนภาษาจีนลูกง่าย ๆ ทำได้จริง แม้พ่อแม่ไม่เก่งภาษา

คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงเคยได้ยินหรือเห็นข้อมูลวิจัยของสถาบันต่างๆ มาแล้วเป็นจำนวนมาก เกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านภาษาที่สองสำหรับเด็กที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่วัยเพียง 3 เดือน ถึงแม้พวกเขายังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้อย่างชัดเจน